หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรม หลักสูตรปี พ.ศ. 2564

ภาพรวมหลักสูตร

ปรัชญา :

เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านฟิสิกส์อุตสาหกรรมที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางทฤษฏีและปฎิบัติ มีคุณธรรม และจริยธรรม ที่สอดคล้องกับปณิธานของสถาบัน ซึ่งสามารถบูรณาการองค์ความรู้และทักษะทางด้านฟิสิกส์อุตสาหกรรม นำไปสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนและสามารถพึ่งพาตนเองได้

ความสำคัญ :

การพัฒนาในประเทศไทยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ มีความสามารถและทักษะในทางปฏิบัติเฉพาะทางด้านฟิสิกส์แล้วสามารถนำความรู้มาประยุกต์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในงานด้านอุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสถาปัตยกรรม ด้านการแพทย์ ด้านเกษตรกรรม เป็นต้น สำหรับในงานแต่ละด้านจะมีการซ่อมบำรุงและพัฒนาหรือประยุกต์อุปกรณ์และเครื่องมือในการตรวจสอบและวิเคราะห์ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยจะอาศัยหลักการพื้นฐานความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางฟิสิกส์มาประยุกต์พร้อมกับสามารถบูรณาการความรู้และความเข้าใจนำไปสู่งานวิจัย ผลงานประดิษฐ์นวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ การตรวจสอบและวิเคราะห์เพื่อใช้แก้ปัญหาในงานด้านต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยคุณธรรมและจริยธรรม ดังนั้นหลักสูตรฟิสิกส์อุตสาหกรรมจึงมีการวางแผนการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และสอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของมาตรฐานการเรียนรู้ 5 ด้าน คือ คุณธรรม-จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของหลักสูตรฟิสิกส์อุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้มีความสอดคล้องกับพันธกิจของสถาบัน และกรอบทิศทางการศึกษาตามแผนพัฒนาประเทศทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ให้มีความรู้ความสามารถแบบบูรณาการและมีทักษะในทางปฏิบัติให้มีประสิทธิผลด้วยคุณธรรม-จริยธรรม มีวิจารณญาณ และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในการพัฒนาบัณฑิตให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพที่เหมาะสมกับรากฐานที่ดีของการพัฒนาประเทศ

ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) :

วิทยาศาสตรบัณฑิต (ฟิสิกส์อุตสาหกรรม)

ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ) :

Bachelor of Science (Industrial Physics)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา :

  • - นักวิทยาศาสตร์
  • - นักวิชาการ
  • - วิศวกรฝ่ายขาย
  • - วิศวกรโรงงาน
  • - นักวิจัยในภาครัฐและเอกชน
  • - ผู้ประกอบการทางธุรกิจเทคโนโลยี