หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (แบบ 1.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี) สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

ภาพรวมหลักสูตร

ปรัชญา :

ผลิตบัณฑิตท่ี่มีความรู้ความสามารถในการดําเนินการวิจัยขั้นสูงทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพท่ี่เกี่ยวข้องกับสาขาต่างๆ ที่สําคัญ ได้แก่ สาขาเกษตรและอาหาร สาขาสุขภาพและการแพทย์ และสาขาพลังงาน

ความสำคัญ :

สาขาที่เป็นยุทธศาสตร์สําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG ได้แก่ สาขาเกษตรและอาหาร สาขาสุขภาพและการแพทย์ สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และ สาขาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ สาขาเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเป็นอย่างมาก ชี้ให้เห็นว่า ในอนาคตความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ มีแนวโน้มที่ เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพสูงในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพจึงเป็นก้าวสําคัญในการ ตอบสนองและช่วยเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามแนวทางดังกล่าว

ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) :

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ) :

Doctor of Philosophy Program in Biotechnology

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา :

  • - อาจารย์ในสถาบันของรัฐและเอกชน
  • - นักวิจัยในสถาบันของรัฐและเอกชน
  • - นักวิชาการในสถาบันของรัฐและเอกชน
  • - ประกอบอาชีพอิสระ เช่น เจ้าของกิจการผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (แบบ 1.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี) สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559

ภาพรวมหลักสูตร

ปรัชญา :

การผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอกสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพที่มีคุณภาพ เพื่อสนองความต้องการสําหรับ การพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของประเทศ

ความสำคัญ :

เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ และส่งเสริมการ พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของประเทศ

ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) :

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ) :

Doctor of Philosophy Program in Biotechnology

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา :

  • - อาจารย์ในสถาบันของรัฐและเอกชน
  • - นักวิจัยในสถาบันของรัฐและเอกชน
  • - นักวิชาการในสถาบันของรัฐและเอกชน
  • - ประกอบอาชีพอิสระ